#1 NETWORK MARKETING GUIDE
  • Home
  • Don & Nancy Failla
    • #1 NETWORK MARKETING GUIDE
    • Glossary of Terms - อภิธานศัพท์
    • วันหยุดคือชีวิตปกติของเรา
    • ภาษาต่างประเทศ
  • Books & Ebooks
  • Lifestyle Trainer
    • Website - ท่าเทียบเรือ
    • Frist 4 Charpters >
      • STEP 2 ex1
      • Step 2 ex2
      • Step 2 ex3
    • Card - ปล่อยเรือ
    • ความสำเร็จของท่าน ขึ้นอยู่ที่ท่าน
    • www.donandnancyfailla.com
  • Self-Educated
  • Contact
  • Home
  • Don & Nancy Failla
    • #1 NETWORK MARKETING GUIDE
    • Glossary of Terms - อภิธานศัพท์
    • วันหยุดคือชีวิตปกติของเรา
    • ภาษาต่างประเทศ
  • Books & Ebooks
  • Lifestyle Trainer
    • Website - ท่าเทียบเรือ
    • Frist 4 Charpters >
      • STEP 2 ex1
      • Step 2 ex2
      • Step 2 ex3
    • Card - ปล่อยเรือ
    • ความสำเร็จของท่าน ขึ้นอยู่ที่ท่าน
    • www.donandnancyfailla.com
  • Self-Educated
  • Contact
ฉันดีกว่าเดิม
มุ่งสร้างนิสัยเชิงบวก
หมั่น​พัฒนาตนเอง
เน้นความสุขและศักยภาพคน
คนเรา 'สามารถ' เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้เสมอ

เวลาของคุณราคาเท่าไหร่

14/12/2019

0 Comments

 
ครึ่งหนึ่งผมได้มีโอกาสไปบรรยายในที่หนึ่ง
ระหว่างที่ผมกำลังพูด ผมก็ได้ถามไปยังผู้ฟังว่า
.
.
สมมุติว่าผมขอซื้อชีวิตคุณ 10 ปี คุณจะขายผมที่ราคาเท่าไหร่
(สมมุติว่าคุณจะต้องเสียชีวิตตอน 70 ปี หากคุณขายก็จะเหลือ 60 ปี)
.
10 ล้าน
50 ล้าน
100 ล้าน
1000 ล้าน
5000 - 10,000 ล้าน - เริ่มมีคนยกบ้าง

Read More
0 Comments

Warren Buffett กับ 10 สิ่งที่เราควรลงทุนมากกว่าเงิน

7/9/2019

0 Comments

 
เราจะเรียนรู้อะไรได้บ้าง จากหลายคำพูดบอกเล่าและวิธีการใช้ชีวิตของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ สุดยอดนักลงทุนผู้ก่อตั้งบริษัท Berkshire Hathaway มหาเศรษฐีอันดับต้นๆ ของโลก

10 สิ่งที่ควรลงทุนมากกว่าแค่เรื่องเงินและหุ้น จากประสบการณ์ของวอร์เรน บัฟเฟตต์
  1. ลงทุนในชีวิตของคุณเอง เพราะตัวคุณเองคือสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุด
  2. ลงทุนในความรู้
  3. ลงทุนในการสื่อสาร ในการพูดคุยกับคนอื่น
  4. ลงทุนในสิ่งที่คุณถนัด (โฟกัส)
  5. ลงทุนในความได้เปรียบทางการแข่งขัน
  6. ลงทุนในคน
  7. ลงทุนในความซื่อสัตย์
  8. ลงทุนในเวลา
  9. ลงทุนในการไม่ลงทุน
  10. ลงทุนในความรัก
0 Comments

สร้างนิสัยคิดบวกในแบบของคุณ

20/3/2018

0 Comments

 
​คนที่มีทักษะในการจัดการความคิดที่ดี ก็จะสามารถดูแลใจตัวเอง จัดการตัวเองได้ดี ไปจนถึงสามารถที่จะใช้พลังชีวิตที่มีอยู่ในตัวเอง พาตัวเองเดินหน้าไปสู่จุดหมายได้อย่างยืดหยุ่นรื่นไหล 

​ผมจะตอบคำถาม 3 ข้อใหญ่ๆ
  1. คิดบวกดีอย่างไร?
  2. ลักษณะความคิดบวกเป็นอย่างไร?
  3. ถ้าเราจะสร้างนิสัยคิดบวกในแบบของเรา เราจะทำได้อย่างไร?

โดยที่ผมใช้คำว่านิสัยขึ้นมาเพราะว่านิสัยมันเป็นเรื่องของความเคยชิน ถ้าเราทำอะไรจนเคยชินมันจะทำได้ง่ายขึ้น แต่เวลาที่เราทำอะไรใหม่ๆ ยังไม่เป็นนิสัยความเคยชิน เราจะยังไม่คล่อง ดังนั้นสิ่งที่เราคุยกันถ้าคุณค้นพบสิ่งใหม่ที่คุณอยากจะนำไปใช้กับชีวิตตัวเองดู ก็ขอให้ทราบว่าถ้าคุณใช้มันใหม่ๆ คุณจะยังไม่คล่องและยังจะเผลอกลับไปอยู่ในรูปแบบเดิม ตรงนั้นก็ไม่ต้องไปหงุดหงิดตัวเอง เป็นเรื่องปกติ เหมือนตอนที่คุณหัดขับรถยนต์ใหม่ๆ หัดขี่จักรยานใหม่ๆ หัดทำอะไรใหม่ๆ ทุกอย่าง คุณจะงุ่มง่าม คุณจะไม่ค่อยคล่องแคล่ว จนกระทั่งคุณได้ฝึกฝนให้นานเพียงพอ คุณก็จะคล่องแคล่วเอง นิสัยทางความคิดของคนก็เหมือนกัน ความคิดของคนมันก็มีเส้นวิ่งของมันที่เราใช้เป็นรูปแบบความเคยชินประจำตัว

6 รูปแบบความคิด
คนที่คิดลบเป็นก็จะรอบคอบ คนที่คิดบวกได้ก็จะเห็นความเป็นไปได้ คนที่คิดด้วยความรู้สึกก็จะเข้าถึงจิตใจในส่วนลึก คนที่คิดด้วยข้อมูลและเหตุผลก็จะมีหลักฐานมาประกอบความคิดของตัวเอง ทุกๆ ความคิดรวมถึงความคิดสร้างสรรค์ ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ทั้งนั้น และเราควรจะเรียนรู้ที่จะฝึกความคิดในทุกรูปแบบ

ที่จริงแล้วความคิดใดๆ ก็ตาม
มันไม่ได้ ผิด/ถูก/ดี/เลว โดยตัวมันเอง แต่มันอยู่ตรงว่าเราหยิบมาใช้ในสถานการณ์ไหน หัวใจสำคัญก็คือ เราต้องรู้ว่าเรากำลังคิดด้วยวิธีไหนอยู่ แล้วหยิบชุดความคิดที่เป็นประโยชน์กับสถานการณ์นั้นมาใช้

การตั้งคำถามจะกำหนดวิธีคิดของคนเรา เราฝึกตั้งคำถามดีๆ ให้กับตัวเอง มันจะช่วยชี้นำ หรือนำร่องความคิดให้แก่เรา วิธีตั้งคำถามให้กับตัวเองจะเป็นการกำหนดความคิดของเรา เช่น ถ้าเราถามตัวเองว่า เรื่องนี้เราได้บทเรียนอะไร? เราก็จะคิดตามคำถามนั้นว่า มันมีบทเรียนอะไรให้เรา เรื่องนี้มีสิ่งอะไรดีๆ แฝงมาบ้าง? เราก็จะมองหาแง่ดี เหมือนอย่างกิจกรรมที่ผมแนะนำให้ทำประจำก็คือ วันนี้มีอะไรดีๆ เกิดขึ้นในชีวิต 5 อย่าง? 

การตั้งคำถามที่ดี จะเป็นตัวช่วยกำหนดเส้นทางความคิดเส้นใหม่
​สวัสดีครับ ผมหมอประเวช เป็นจิตแพทย์

หัวข้อนี้ตั้งขึ้นมาจากการที่ผมพบว่าหลายคนที่ได้ฟังความรู้เรื่องการคิดบวกจากแหล่งต่างๆ มักจะมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนซึ่งก็คลาดเคลื่อนตั้งแต่คนรับ เช่น คนฟังทั่วไปไปจนถึงคนที่ออกมาพูดให้ความรู้ เพราะว่าขณะที่เรารับรู้กันว่าการคิดบวกเป็นเรื่องดีและมีประโยชน์ หลายคนก็ไม่รู้รายละเอียดว่าคิดบวกนั้นทำอย่างไร แล้วผลลบอย่างหนึ่งที่สำคัญมากก็คือ มันทำให้คนจำนวนมากที่มีความคิดลบ คิดว่าตัวเองผิดปกติที่มีความคิดลบ ซึ่งที่จริงแล้วความคิดลบมันมีอยู่ในสัญชาตญาณของเราและมันก็ฝังอยู่เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นตัวเรา มันมีประโยชน์ในเชิงการอยู่รอดด้วย

สัปดาห์ที่แล้วก็ได้คุยกันในเรื่องของความวิตกกังวลว่าเราจะจัดการอย่างไร แล้วก็ได้คุยกันถึงการจัดการองค์ประกอบต่างๆ ของความกังวล ซึ่งก็เป็นต้นแบบของความคิดลบ ถ้าเราใช้ให้ถูกต้อง เราก็จะได้รับประโยชน์จากความคิดลบนั้น จากนั้นก็มีโจทย์เข้ามา มีคนเริ่มถามเข้ามาว่าแล้วตกลงคิดบวกนี่มันดียังไง มันดีจริงไหม แล้วเราจะจัดความลงตัวระหว่างความคิดบวกและความคิดลบได้อย่างไร

​ผมก็ได้สรุปข้อความออกมาสั้นๆ ว่า ฝึกคิดบวกให้มากขึ้นแต่ว่าอย่ารังเกียจความคิดลบในใจตัวเอง

เพราะเราไม่มีทางกำจัดความคิดลบให้หมดไปจากหัวของเราได้ และที่สำคัญธรรมชาติของความคิดของเราก็คือ อะไรก็ตามที่เราไม่อยากคิดถึงมัน เรากลับจะยิ่งคิดถึงมัน ตัวอย่างนี้ก็เห็นได้ชัด เวลาคุณมีเรื่องที่ไม่อยากคิดถึง คุณพยายามจะกลบมัน พยายามจะไม่คิดถึงมัน คุณก็หวนกลับไปคิดถึงมันอยู่เสมอเพราะว่ายิ่งพยายามจะไม่คิดถึงอะไร ใจของเราก็พยายามกลับไปคิดถึงเรื่องนั้นมากขึ้น ทุกคนคงมีประสบการณ์ตรง ถ้าอ่านตามหนังสือทั่วไปเขาก็จะเขียนว่า อย่าคิดถึงช้างสีชมพู อย่าคิดถึงตัวนั้นตัวนี้ อย่าคิดถึงผี คุณก็จะเริ่มคิดถึง คุณไปอยู่ในที่เงียบๆ มืดๆ แล้วคุณก็บอกว่าอย่าคิดถึงผีนะ เอาล่ะครับ เดี๋ยวคุณจะเริ่มคิดถึงผีขึ้นมา แล้วความกลัวก็จะวิ่งตามมา 

Read More
0 Comments

3 ขั้นตอนในการสร้างวินัย

5/1/2018

0 Comments

 
จากคนที่ลอยละล่องไปตามอารมณ์ จะกลายเป็นคนมีวินัยได้อย่างไร

ขั้นแรก คุณต้องมีความฝันชัดเจน
คุณต้องมี 'ภาพสวรรค์' สถิตย์อยู่ในใจ เพราะว่าวินัยที่ยั่งยืนไม่ได้เกิดจาก "ความฝืน" แต่เกิดจาก "ความฝัน" ยิ่งความฝันของเราชัดเท่าไร เราจะยิ่งมีวินัยมากเท่านั้น

Read More
0 Comments

12 ความกลัว

1/12/2017

0 Comments

 
12 Fears You Need To Overcome to Succeed In Business and In Life
By Gordon Tredgold
​http://inc-asean.com/the-inc-life/12-fears-you-need-to-overcome-to-succeed-in-business-and-in-life/

12 ความกลัวที่คุณต้องปราบให้ได้ หากคุณอยากประสบความสำเร็จทั้งทางธุรกิจและสมปรารถนาในชีวิต

เราไม่มีวันทำได้เกินกว่าขอบเขตที่ความกลัวขังเราไว้

ความกลัวอาจเป็นเหมือนกำแพงที่สูงหนาใหญ่ยักษ์ กั้นระหว่างเรากับความสำเร็จ


ความกลัวจะหยุดยั้งคุณ ความกลัวมีอิทธิฤทธิ์ทำให้คุณเชื่อว่าโอกาสที่คุณจะสมหวังประสบความสำเร็จนั้นมีน้อยนิด ดังนั้นไม่ต้องเปลืองแรงเสียเวลา จะพยายามไปทำไม ความกลัวเป็นความรู้สึกซับซ้อนยุ่งยาก เจ้าเล่ห์ พาลพาให้อยากหลบหนี ความกลัวสถิตอยู่ลึกๆ ในจิตใจ อยู่ในจิตใต้สำนึกซึ่งคุณอาจไม่เคยรับรู้มาก่อนเลยว่ามันดึงรั้งคุณไว้

ในหนังสือ Fighting The Fear ‘ปราบความกลัว’ Mandie Holgate มองเห็นว่ามีอยู่ 12 ความกลัวที่คุณต้องกำราบให้อยู่หมัด ขจัดความคิดลบๆ ออกไปจากจิตใจ เดินขึ้นแท่นผู้ชนะรับรางวัลชีวิต Mandie Holgate ได้ให้แบบฝึกหัดไว้กำราบทั้ง 12 ความกลัว ซึ่งจะช่วยให้คุณอยู่เหนือความกลัว เริ่มต้นออกไล่ล่าเป้าหมายต่างๆ ของคุณ

ความกลัวที่ 1 – ถ้าคนพบตัวตนของฉัน พวกเขาจะทำร้าย / ทำไม่ดีกับฉันไหม แล้วฉันจะอยู่อย่างไร?


Read More
0 Comments

ตั้งใจฟังคืออะไร?

29/6/2017

0 Comments

 
What is Deep Listening?
By Joe Bailey (Licensed Psychologist)
http://www.selfgrowth.com/articles/what_is_deep_listening.html

ใส่ใจรับฟัง / ฟังอย่างลึกซึ้ง / ตั้งใจฟัง คืออะไร?

“ตอบสนองต่ออารมณ์ให้ช้าลง แล้วจะพบความรักเร็วขึ้น”

ฟังอย่างลึกซึ้งจะเกิดขึ้นเมื่อจิตใจของคุณเงียบสงบ สุขุม ไตร่ตรอง ความคิดของคุณไหลรื่นอ่อนโยน และมิได้กำลังถูกรบกวนหรือถูกทำให้ไขว้เขวโดยสิ่งลวงใจ อาทิ การตีความ การตัดสินว่ามีค่า/ด้อยค่า ความใจเร็วด่วนสรุป หรือสมมติฐานคิดเองเออเอง เมื่อคุณตั้งใจฟัง จิตใจของคุณจะเมตตาเปิดกว้างให้กับทุกสิ่ง สนใจใคร่รู้ –ราวกับว่าคุณเพิ่งได้ยินคนคนนี้พูดเป็นครั้งแรก การใส่ใจรับฟังใช้ได้ดีเมื่อคุณกำลังสื่อสารกับอีกคน แต่ความดี๊ดีของการตั้งใจฟังไม่ใช่แค่นั้น การฟังอย่างลึกซึ้งยังใช้ได้ผลดีเมื่อคุณกำลังฟังตัวเอง ฟังชีวิต ฟังความเป็นมนุษย์ เป้าหมายของการใส่ใจรับฟังคือ คุณได้ยินความลึกล้ำเหนือถ้อยคำของอีกคนหรือเหนือคำพูดของคุณเอง คุณกำลังฟังว่าคำพูดและความรู้สึกกำลังบ่งบอกถึงสาระสำคัญใด จิตใจและความรู้สึกของคุณถูกผนวกเข้าด้วยกัน –คุณกำลังเต็มใจรับฟัง

Read More
0 Comments

วิทยาศาสตร์กล่าวว่า ความสัมพันธ์ยั่งยืนอาศัย 2 ปัจจัยพื้นฐาน

7/6/2017

0 Comments

 
Science Says Lasting Relationships Come Down To 2 Basic Traits
Credit : EMILY ESFAHANI SMITH, The Atlantic
​http://www.businessinsider.com/lasting-relationships-rely-on-2-traits-2014-11
คู่รักส่วนใหญ่ มีระดับความพึงพอใจต่อกันลดลงฮวบฮาบในช่วงไม่กี่ปีแรก แต่ท่ามกลางคู่ร้างมากมาย ก็มีบางคู่ที่อยู่รอดและได้ใช้ชีวิตคู่ด้วยกันอย่างมีความสุขยาวนานปีแล้วปีเล่า "ความเอื้ออารี" และ "ใส่ใจรับฟัง" ผูกพันคู่รักไว้ และนำพาทั้งคู่เดินไปด้วยกัน

วิทยาศาสตร์กล่าวว่า ความสัมพันธ์ยั่งยืนอาศัย 2 ปัจจัยพื้นฐาน คุณลองเดาดู –เอื้ออารี และ ใส่ใจรับฟัง

ทุกวันของเดือนมิถุนายน เดือนสละโสดประจำปี ประมาณ 13,000 คู่รักอเมริกัน เข้าพิธีวิวาห์ อบอวลไปด้วยมิตรภาพ ความรักชื่นมื่น ความรู้สึกมีกันและกันจะพาพวกเขาจับมือเผชิญสิ่งต่างๆ ด้วยกัน จวบจนวันสุดท้ายบนโลกนี้

แต่เดี๋ยวก่อน ไม่ได้สมหวังกันทุกคู่นะคะ

ชีวิตแต่งงานพบความล้มเหลวมากกว่าสมหวัง ถ้าไม่จบลงที่หย่าร้าง แยกกันอยู่ ก็อาจจะเฉยชาต่อกัน หรือทนอยู่ด้วยความขมขื่น
​
จากคู่แต่งงานทั้งหมด มีเพียง 3 ใน 10 เท่านั้นที่ยังคงมีชีวิตแต่งงานอบอุ่นสุขใจ จากหนังสือ The Science of Happily Ever After ของนักจิตวิทยา Ty Tashiro

นักวิทยาศาสตร์เริ่มศึกษา สังเกตพฤติกรรมของคู่แต่งงานครั้งแรกช่วงทศวรรษ 1970 การศึกษาเกิดขึ้นมาตอบสนองวิกฤต: คู่สมรสมีอัตราการหย่าร้างสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และมีความกังวลว่าการหย่าร้าง ครอบครัวแตกแยกจะส่งผลกระทบต่อเด็กๆ นักจิตวิทยาจึงตัดสินใจคัดเลือกคู่สมรสมาวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ พาพวกเขาเข้าแลปและคอยสังเกตพวกเขา เพื่อหาปัจจัยที่ทำให้ความสัมพันธ์มั่นคงยั่งยืน

Read More
0 Comments

ใครอยากรวย? จงเปลี่ยนความหมายทางการเงิน

1/4/2017

0 Comments

 
Want to Be Rich? Change Your 'Money Story'
"All money is a matter of belief."


By Chris Winfield   @chriswinfield
www.inc.com/chris-winfield/want-to-be-rich-change-your-money-story.html
อดัม สมิธ บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ยุคใหม่ เคยกล่าวว่า “เงินสะท้อนความเชื่อ”
สตีฟ ซีบอนด์ เคยสัมภาษณ์เศรษฐีหลายร้อยคน และพบว่า “ความร่ำรวยมีจุดเริ่มต้นมาจากวิธีคิด และคุณกำลังหาเงินด้วยความเชื่ออะไร”

คุณเคยหยุด แล้วลองนั่งไตร่ตรองดูไหม ว่าความเชื่อของคุณสัมพันธ์กับเงินอย่างไร?

Read More
0 Comments

    Author

    Write something about yourself. No need to be fancy, just an overview.

    Archives

    December 2019
    September 2019
    March 2018
    January 2018
    December 2017
    June 2017
    April 2017

    Categories

    All

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.